ความผิดทางอาญา คือ การกระทำความผิดที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม หรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ และต้องได้รับโทษทางอาญษตามที่รัฐกำหนดไว้ในกฎหมาย
โทษทางอาญาประกอบด้วย (เรียงตามความหนักเบา)
- ประหารชีวิต
- จำคุก
- กักขัง
- ปรับ
- ริบทรัพย์สิน
การแบ่งแยกความผิดทางอาญา สามารถแยกได้หลายหลักเกณฑ์
การแบ่งประเภทความผิดในแง่ของกฎหมาย
- ความผิดในตัวเอง (Mala insa) ความผิดที่มาจากศีลธรรมที่เด่นชัด คือ รู้ได้ทันทีว่าเป็นเรื่องผิด เช่น การลักทรัพย์ การฆ่าคนตาย ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน เป็นต้น
- ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala prohibita) คือความผิดที่กฎหมายกำหนดขึ้นมาเพื่อให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ความผิดฐานจอดรถในที่ห้ามจอด ความผิดฐานการค้ากำไรเกินควร เป็นต้น
การแบ่งประเภทความผิดในแง่โทษ และการดำเนินคดี
- ความผิดอาญาแผ่นดิน คือ ความผิดที่นอกจากจะมีผลร้ายต่อตัวผู้ที่ได้รับผลร้ายแล้ว(ผู้เสียหาย) ยังมีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่ด้วย รัฐจึงป้องกันสังคมด้วยการเข้ามาเป็นผู้เสียหาย และดำเนินคดีเอง ถึงแม้ว่าผู้เสียหายจะไม่ติดในเอาความก็ตาม ก็ไม่สามารถยอมความกันได้
- ความผิดอันยอมความได้ ได้แก่ ความผิดอาญาที่ไม่มีผลร้ายกระทบกระเทือนต่อสังคมส่วนใหญ่ ถ้าผู้เสียหายต้องการยุติคดีก็สามารถทำได้ โดยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือประนีประนอมยอมความ
- ความผิดลหุโทษ คือความผิดทางอาญาที่มีโทษเบา คือ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินกว่านี้(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 102) เป็นความผิดที่มีโทษเบา แต่ก็เป็นความผิดที่ไม่ยอมความกันได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น