วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

แบ่งแยกประเภทของกฎหมาย ตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี หรือตามข้อความของกฎหมาย

แบ่งตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี หรือตามข้อความของกฎหมาย

แบ่งได้ 3 ประเภท

กฎหมายมหาชน (Public Law)  
คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎร  เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ , กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลังการภาษีอากร

กฎหมายเอกชน (Private Late)
คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของราษฎรกับราษฎร ในฐานะที่เท่าเทียมกัน

การพิจารณาว่ากฎหมายใดเป็นกฎหมายมหาชน

  • กฎหมายนั้นกล่าวถึงกิจการของใคร 
    • กฎหมายมหาชน จะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วมรวม 
    • กฎหมายเอกชน จะเป็นกิจการส่วนตัว
  • กฎหมายนั้นให้ใครเป็นประธานแห่งสิทธิ หรือเป็นผู้ทรงอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง 
    • กฎหมายมหาชน องค์การของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นผู้ทรงอำนาจ มีอำนาจบังคับอีกฝ่ายได้
    • กฎหมายเอกชน คู่กรณีเป็นผู้ทรงสิทธิเท่ากัน อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  • กฎหมายนั้นเคร่งครัดหรือไม่ เปิดโอกาสให้มีการตกลงหรือไม่
    • กฎหมายมหาชน เคร่งครัด บังคับตายตัว หรือเป็นส่วนใหญ่ (Jus Cogent)
    • กฎหมายเอกชน ผ่อนปรนให้ตกลงกันได้ เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในกฎหมายได้เป็นส่วนใหญ่ (Jus Dispositivum)
กฎหมายระหว่างประเทศ 
คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน (อ่านต่อ)


ลิ้งค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งแยกประเภทของกฎหมาย แบ่งตามลักษณะการใช้

Please Give Us Your 1 Minute In Sharing This Post!
SOCIALIZE IT →
FOLLOW US →
SHARE IT →
Powered By: BloggerYard.Com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก