หลักการตีความในกฎหมายทั่วไป
"กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ" (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
ดังนั้นการตีความในกฎหมายทั่วไปจึงแบ่งได้ 2 วิธี คือ
การตีความตามตัวอักษร
คือการทราบความหมายจากตัวอักษรของกฎหมายนั่นเอง
การตีความตามเจตนารมณ์
หลักการสำคัญของการตีความตามตัวอักษรมีดังนี้
- กรณีที่กฎหมายใช้ภาษาสามัญต้องตีความตามความหมายสามัญที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปหรือให้ถือตามพจนานุกรม
- กรณีที่กฎหมายใช้ภาษาเทคนิคหรือภาษาทางวิชาการต้องเข้าใจความหมายตามที่เข้าใจกันในทางเทคนิคหรือในทางวิชาการนั้นๆ (เช่น ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เป็นต้น)
- กรณีที่ภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้มีคำนิยามโดยเฉพาะในทางกฎหมายต้องตีความตามคำนิยามที่กฎหมายให้ไว้โดยเฉพาะ (คำเทคนิคในทางวิชาการกฎหมาย)
- กรณีที่ตัวบทกฎหมายภาษาไทยไม่ชัดเจน ให้ดูตัวบทภาษาอังกฤษประกอบด้วย
การตีความตามเจตนารมณ์
คือการทราบความหมายจากถ้อยคำในบทกฎหมายจากเจตนารมณหรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นๆ
หลักการสำคัญของการตีความตามเจตนารมณ์
- ดูจากชื่อของกฎหมายนั้น
- ศึกษาจากคำขึ้นต้นของกฎหมาย เช่น พระราชปรารภในกรณีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญนั้น)
- ศึกษาจากหมายเหตุท้ายกฎหมาย
- ศึกษากฎหมายทั้งฉบับโดยตลอดหรือพิจารณามาตราต่าง
- ศึกษาประวัติ ฐานะ และพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนวันใช้บังคับกฎหมาย
- ต้องถือว่ากฎหมายมีความมุ่งหมายในทางที่จะใช้บังคับได้
- ต้องถือว่ากฎหมายที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไปหรือที่จำกัดหรือตัดสิทธิและเสรีภาพของราษฎรไม่มีความมุ่งหมายจะให้ขยายความออกไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น