วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)



กฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน

ความจริงแล้วไม่มีตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงธรรมเนียมประเพณีที่ถือกันมา หรืออย่างมากก็เป็นสนธิสัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่งประเทศ ดังนี้จึงอาจกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศเท่านั้นเอง (สวิน อักขรายุธ)


กฏหมายระหว่างประเทศแบ่งแยกเป็น 3 สาขา ได้แก่

1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public International Law) เป็นข้อบังคับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม แบ่งออกเป็น

  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคสันติ เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับรัฐ เช่น ลักษณะของรัฐ อาณาเขตของรัฐ หรือหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคสงคราม เป็นข้อความเกี่ยวกับการทสงคราม



2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law) เป็นข้อบังคับกำหนดสิทธิหน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศที่ต่างกันในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับต่างประเทศในเรื่องต่างๆ เช่น การได้สัญชาติ การแปลงสัญชาติ การสมรส ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา มรดก เป็นต้น



3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (Criminal International Law) เป็นข้อบังคับที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในทางอาญาเกี่ยวกับเขตอำนาจ การรับรู้คำพิพากษาทางอาญาของประเทศอื่น ตลอดจนการส่งตัวผู้รายข้ามแดน เป็นต้น



(ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย  ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง นัยยา เกิดวิชัย)

Please Give Us Your 1 Minute In Sharing This Post!
SOCIALIZE IT →
FOLLOW US →
SHARE IT →
Powered By: BloggerYard.Com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น