กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม
ในการหาความหมายของกฎหมาย เป็นเรื่องยุ่งยากที่จะหาคำตอบให้สมบูรณ์ จำเป็นต้องเข้าใจความสำคัญต่างๆดังนี้
1 กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์
- มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social animal)
มนุษย์นิยมที่จะอยู่เป็นหมู่ เป็นพวก รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และการรวมตัวกันเป็นสังคมมนุษย์นี้เองเป็นผลให้มนุย์มีความแข็งร่ง มีสติปัญญาร่วมกันและมีพลังเป็นปึกแผ่นเพื่อฟันผ่าอุปสรรคภยันตรายนานาประการได้โดยตลอดรอดฝั่งเรื่อยมา (วิษณุ เครืองาม)
เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมีการสร้างกฏเกณฑ์ต่างๆเพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมไว้
- กฎหมายกับศาสนา
ศาสนามีข้อบังคับที่ศาสดากำหนดขึ้น เพื่อให้มนุษย์เชื่อถือ และบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นความดี และละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นความชั่ว
ทั้งกฏหมายและศาสนาต่างเป็นกฏเกณฑ์ที่กหนดความประพฤติของมนุษย์ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับผลร้ายเป็นการตอบแทน
แต่แตกต่างกันกันตรงสภาพบังคับ (Sanction) ในทางกฏหมายสภาพบังคับมีความเด็ดขาด จริงจัง และสามารถเห็นผลได้ในปัจจุบัน เช่น เอาให้ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่สภาพบังคับทางศาสนา ผลร้ายจากการกระทำผิดเป็นเรื่องของกาลภายหน้า (บาป) เฉพาะแต่ผู้เลื่อมใสเท่านั้น
- กฏหมายกับศีลธรรม
ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ชอบ การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ผิด (หยุด แสงอุทัย)
ทั้งกฏหมายและศีลธรรมต่างเป็นกฏเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติมนุษย์ หมายถึง มีจิตใจหรือความรู้สึกนึกคิดที่จะกระทำหรือไม่กระทำการไดๆ เหมือนกัน
แตกต่างกันตรงที่กฎหมายกำหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ หากคิดร้ายในใจกฎหมายก็ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ศีลธรรมเป็เรื่องของความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ แม้คิดไม่ขอบในใจย่อมผิดศีลธรรมแล้ว กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ มีบทลงโทษทางกฎหมาย แต่ศีลธรรมเกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ สภาพบังคับจะเป็นการการกระทบกระเทือนทางจิตใจของผู้ฝ่าฝืน
- กฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยมุ่งถึงสิ่งที่เป็นเป็นการกระทำภายนอกของมนุษย์ เช่น การแต่งตัว วิธีพูดด และวิธีติดต่อกับบุคคลอื่น รวมถึงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งจารีตประเพณีอาจเป็นเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะแตกต่างกันได้ตามสังคม
ความคล้ายคลึงระหว่างประเพณีและจารีตประเพณี คือเป็นข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ ไม่ได้ควบคุมถึงภายในจิตใจเหมือนศีลธรรม โดยกฏหมายรัฐเป็นผู้กำหนดบังคับใช้ มีบทลงโทษตามกฏหมาย แต่จารีตประเพณีประชาชนเป็นผู้กำหนด หารไม่กระทำตาม การลงโทษคือการถูกติเตียนจากสังคม การจะยกเลิกจารีตประเพณีต้องใช้เวลาในการยกเลิก แต่กฎหมายสามารถยกเลิกได้ทันที
ในบางสังคม จารีตประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมย เช่น ในประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น