วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติ (ACT)

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)  คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เป็นต้น




ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  จะเสนอได้โดย

  1. คณะรัฐมนตรี
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือสมาชิกผู้แทนราษฎร์ และสามาชิกวุฒิสภา ไม่น้อยกว่าหนึงในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
  3. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
ร่างพระราชบัญญัติ จะเสนอได้โดย
  1. คณะรัฐมนตรี
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
  3. ศาล หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กร และกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์การนั้นเป็นผู้รักษาการ 
  4. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าเสนอชื่อ ตามมาตรา 163 
  • กรณีข้อ 2 3 4 เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี 
  • กรณีข้อ 4 หากบุคคลตามข้อ 1 2 เสนอร่างเพราะราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัตินี้อีก ให้นำบทมาตรา 163 วรรคสี่ มาใช้บังคับการพิจารณา


ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ  ได้แก่ รัฐสภา
ร่างพระราชบัญญัติที่เนอต่อรัฐสภาต้องเปิดเผย ให้ประชาชนทราบและห้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดได้โดยสะดวก
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้กระทำเป็นสามวาระ คือ

  1. วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ  
  2. วาระที่ 2 ขั้น พิจารณาเรียงลำดับมาตรา
  3. วาระที่ 3 ออกคะแนนเสียง โดยต้องมีคะแนนเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่อยู่ในสภา

ผู้ตราพระราชบัญญัติ ได้แก่ พระมหากษัตริย์

เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่ได้รับเรื่อง หากศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัยว่าขัดแย้งต่อรับฐธรรมนูญ ให้ข้อความนั้นตกไป กรณีเป็นสาระสำคัญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ขัดแย้ง




การประกาศใช้ จะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ต้องได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 



Please Give Us Your 1 Minute In Sharing This Post!
SOCIALIZE IT →
FOLLOW US →
SHARE IT →
Powered By: BloggerYard.Com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น