รัฐธรรมนูญ (Constitution)
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายมหาชนสารบัญญัติที่มีศักดิ์สูงสุด ที่ใช้เป็นหลักในการปกครอง กฎหมายอื่นจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญได้วางระเบียบเกี่ยวกับการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้นๆต่อกันและกัน หรือได้กำหนดกลไกและวิธีดำเนินการใช้อำนาจอธิปไตย และกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพขั้นมูลฐานของปวงชนไว้ รวมทั้งวิธีการควบคุมการใช้อำนาจอธิปไตย ตลอดจนการให้ความคุ้มครองสิทธหน้าที่ และเสรีภาพของปวงชนไว้เป็นหลักฐานแน่นอนด้วย
การจัดทำรัฐธรรมนูญเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการดังนี้
1.ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ
- ราษฎรรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มพลังโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา เช่น คณะราษฎร์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้น
- ผู้มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนนั้นๆ เช่น ประเทศใดจะปลดปล่อยอาณานิคมปกครองให้เป็นอิสระ ก็จะตรารัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อให้ประเทศนั้นๆใช้เป็นหลักในการปกครองสืบไป
- ประมุขของรัฐ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้จัดร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่
- หัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
2.ผู้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สภานิติบัญญัติ หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี
3.ผู้ตรารัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์
4.การประกาศใช้ รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วนั้น จะต้องมีหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือประธานรัฐสภา หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฝำหมายได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น