ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ( ปพพ )
**นิติกรรม หมวดเบ็ดเสร็จทั่วไป**
นิติกรรม < ปพพ. มาตรา 149 > นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฏหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงเพื่อก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
โมฆะกรรม < ปพพ. มาตรา 150 > การใด มีวัตถุประสงค์ เป็นการ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการ พ้นวิสัย หรือ เป็นการ ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
โมฆะกรรม < ปพพ. มาตรา 151 > การใด เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฏหมาย ถ้ามิใช่ กฏหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น ไม่เป็นโมฆะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
โมฆะกรรม < ปพพ. มาตรา 152 > การใด มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฏหมายบังคับไว้ การนั้น เป็นโมฆะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
โมฆียะกรรม < ปพพ. มาตรา 153> การใด มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย ว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้น เป็นโมฆียะ
ติดตามตอนต่อไป คลิก
**หมายเหตุ
โมฆะกรรม หมายถึง นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า ไม่มีผลตามกฏหมาย
โมฆียะกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลตามกฏหมาย แต่ อาจถูกบอกล้างได้ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น