วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

การตีความกฎหมาย (Interpretation of Law)

การตีความกฎหมาย หมายถึง การค้นหาความหมายของกฎหมายที่มีถ้อยคำไม่ชัดเจน กำกวมหรือมีความหมายหลายทาง เพื่อหยั่งทราบว่าถ้อยคำของบทบัญญัติของกฎหมายมีความหมายอย่างไร


หลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมาย
แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

"กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ" (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ดังนั้นการตีความในกฎหมายทั่วไปจึงแบ่งได้ 2 วิธี คือ 
หลักการตีความตามกฎหมายพิเศษ (กฎหมายอาญา)
มีหลักเกณฑ์การตีความดังต่อไปนี้
  • กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด 
    • จะนำบทกฎหมายใกล้เคียง (Analogy) มาใช้ให้เป็นผลร้ายมิได้
    • จะนำจารีตประเพณีมาใช้ให้เป็นผลร้ายมิได้
    • จะนำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้ให้เป็นผลร้ายมิได้
  • จะตีความกฎหมายอาญาในทางขยายความให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นไม่ได้
  • ในกรณีเป็นที่สงสัย ศาลต้องตีความให้เป็นผลดีแก่จำเลยว่าไม่ได้กระทำความผิด

Please Give Us Your 1 Minute In Sharing This Post!
SOCIALIZE IT →
FOLLOW US →
SHARE IT →
Powered By: BloggerYard.Com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก