หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า ทายาทโดยธรรมคืออะไร หากไม่ได้เขียนพินัยกรรมมรดกจะตกถึงใคร หากเป็นพระภิกษุเป็นผู้รับมรดกได้ไหม และทรัพย์สินของพระภิกษุจะตกทอดแก่ใคร บุตรนอกกฎหมายจะรับมรดกได้ไหม ในเรื่องนี้มีคำตอบมาฝาก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ6 มรดก ลักษณะ2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
Topมาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรม ไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของ ผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่าย โดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรม ตามกฎหมาย
Topมาตรา 1621 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัย กรรมเป็นอย่างอื่น แม้ทายาทโดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่ง อย่างใดตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาส่วนโดย ธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจน เต็มอีกก็ได้
Topมาตรา 1622 พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่ เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้อง ภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754
แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
Topมาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
Topมาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้
Topมาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้วการคิดส่วนแบ่งและการปัน ทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ให้เป็นไปดั่งนี้
(1) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้อยู่ในบังคับ ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการหย่าโดยยินยอม ทั้งสองฝ่ายอันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ใน มาตรา 1637 และ มาตรา 1638 และโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1513 ถึง มาตรา 1517 แห่งประมวลกฎหมายนี้แต่การคิดส่วนแบ่งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่การ สมรสได้สิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น
(2) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้อยู่ในบังคับของ บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ นอกจาก มาตรา 1637 และ มาตรา 1638
Topมาตรา 1626 เมื่อได้ปฏิบัติตาม มาตรา 1625 (1) แล้ว ให้คิดส่วน แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมดั่งต่อไปนี้
(1) ทรัพย์มรดกนั้นให้แบ่งแก่ทายาทตามลำดับและชั้นต่าง ๆ ดั่งที่ บัญญัติไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้
(2) ส่วนแบ่งอันจะได้แก่ทายาทในลำดับและชั้นต่าง ๆ นั้นให้แบ่ง ในระหว่างบรรดาทายาทในลำดับและชั้นนั้น ๆ ดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 แห่งลักษณะนี้
Topมาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
Topมาตรา 1628 สามีภริยาที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาด จากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกัน และกัน
จะเห็นได้ว่า กฎหมายมีรายละเอียดมากมาย ผู้ที่ศึกษากฎหมาย จะทำให้เข้าใจในสิทธิของตน หลังจากอ่านจบเราก็หาคำตอบดังกล่าวได้แล้วนะคะ ว่าทายาทโดยธรรมคืออะไร แล้วมรดกของพระภิกษุจะทำอย่างไร ในตอนหน้ามีประมวลเกี่ยวกับการแบ่งมรดกระหว่างทายาทมาฝากค่ะ
วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
กฎหมายเกี่ยวกับมรดก สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คลังบทความของบล็อก
-
▼
2014
(47)
-
▼
กุมภาพันธ์
(15)
- กฏหมายเกี่ยวกับมรดก - ลำดับชั้นทายาทเท่ากันจะแบ่งอ...
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก - ลำดับและชั้น ของทายาทโดยธรรม
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก หมวด1...
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก - การสละมรดกและอื่นๆ
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก - การตัดมิให้รับมรดก
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก - การเป็นทายาท
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก - การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 ...
- กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การสิ้นสุดแห่งการสมรส
- กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความเป็นโมฆะของการสมรส
- กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
- กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
- กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การหมั้น
- กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - เงื่อนไขแห่งการสมรส
- ความรู้เบื้องต้นกฎหมาย บท 1
-
▼
กุมภาพันธ์
(15)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น