หลังจากแต่งงานไปแล้ว สามี ภรรยา ก็ยังต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอยู่กินด้วยกัน การอุปการะเลี้ยงดูกันและกัน รวมไปถึงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือวิกลจริต จะทำอย่างไร วันนี้ประมวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยามาฝาก
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
- มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน
- มาตรา 1462 ในกรณีที่สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้ หรือถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือทำลายความผาสุกอย่างมาก สามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้ หรือฝ่ายที่จะต้องรับอันตรายหรือถูกทำลายความผาสุก อาจร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากในระหว่างที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ได้ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ฝ่ายหนึ่งจ่ายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามควรแก่พฤติการณ์ก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 1462 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปพพ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2551
- มาตรา 1463 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่น เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้
- มาตรา 1464 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริตไม่ว่าศาล จะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะ เลี้ยงดูฝ่ายที่วิกลจริตตาม มาตรา 1461 วรรคสอง หรือกระทำการหรือไม่ กระทำการอย่างใด อันเป็นเหตุให้ฝ่ายที่วิกลจริตตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดความเสียหายทาง ทรัพย์สินถึงขนาด บุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 29 หรือผู้อนุบาลอาจฟ้องคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริต หรือขอให้ศาลมี คำสั่งใด ๆ เพื่อคุ้มครองฝ่ายที่วิกลจริตนั้นได้
- ในกรณีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของ ศาลว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้ขอต่อศาลในคดีเดียว กันให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ โดยขอให้ ตั้งตนเองหรือผู้อื่นที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้อนุบาล หรือถ้าได้มีคำสั่งของศาล แสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถอยู่แล้ว จะขอให้ถอดถอน ผู้อนุบาลคนเดิมและแต่งตั้งผู้อนุบาลคนใหม่ก็ได้
- ในการขอให้ศาลมีคำสั่งใด ๆ เพื่อคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตโดยมิ ได้เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วยนั้น จะไม่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสฝ่ายที่ วิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ หรือจะไม่ขอเปลี่ยนผู้อนุบาลก็ได้ แต่ถ้า ศาลเห็นว่าวิธีการคุ้มครองที่ขอนั้นจำต้องมีผู้อนุบาลหรือเปลี่ยนผู้อนุบาล ให้ ศาลมีคำสั่งให้จัดการทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง แล้วจึงมีคำสั่งคุ้ม ครองตามที่เห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 1464 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533
- มาตรา 1464/1 ในระหว่างการพิจารณาคดีตาม มาตรา 1464 ถ้ามีคำ ขอศาลอาจกำหนดวิธีการชั่วคราวเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูหรือการคุ้มครอง คู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณีฉุกเฉินให้นำบท บัญญัติ เรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ
หมายเหตุอ่าน มาตรา 1464/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533
กฎหมายเกี่ยวข้องกับเราทุกคน ทุกช่วงวัย ทุกจังหวะชีวิต ดังนั้นการศึกษากฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ ในเรื่องต่อไปยังเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการสมรสเช่นเดิม แต่เป็นเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา สำหรับเนื้อหาประมวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยามีแค่นี้ค่ะ
กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - เงื่อนไขแห่งการสมรส
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การหมั้น
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
กลับมาดูเรื่องการแต่งงานอีกครั้งค่ะ สำหรับวันนี้จะคุยกันถึงประมวลกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา หลังคู่สมรสแต่งงานแล้ว จะมีเรื่องทรัพย์สินระหว่างสมรส สินสมรส ซึ่งคู่สมรสต้องเข้าใจกฎหมายด้านนี้ เพื่อจะได้เข้าใจเงื่อนไขต่างๆ - อ่านต่อ
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความเป็นโมฆะของการสมรส
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การสิ้นสุดแห่งการสมรส
หลายคู่สมรส ตอนแต่งใหม่ๆน้ำต้มผักก็ว่าหวาน แต่พอผ่านไปสักพัก หลายคู่ก็ไม่ได้จับมือกันไปจนถึงบั้นปลายชีวิต อาจจะต้องมีการหย่าร้างเกิดขึ้น วันนี้เลยเอาประมวลกฎหมายที่ประกอบด้วยเรื่องการสิ้นสุดแห่งการสมรสมาฝากค่ะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 การสมรส หมวด6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส ... อ่านต่อ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น