วันนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสมรสมาฝาก หนุ่มๆสาวๆทั้งหลายที่วาดหวังว่าจะเริ่มต้นครอบครัว สิ่งที่พวกเขาต้องกระทำเพื่อสร้างพันธะระหว่างกันคือการแต่งงาน หรือการสมรสนั่นเอง ดังนั้นกฎหมายด้านการแต่งงานทุกคนควรจะมีความรู้เรื่องนี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆเลยทีเดียว มาดูกันว่าประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรสมีอะไรบ้าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 การสมรส
หมวด 2 เงื่อนไขแห่งการสมรส
- มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้
- มาตรา 1449 การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกล จริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
- มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลง มาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
- มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้
- มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
- (1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- (2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
- (3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
- (4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
- มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความใน มาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
- มาตรา 1455 การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
- (1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
- (2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
- (3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่าง น้อยสองคนก็ได้ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้
- มาตรา 1456 ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความ ยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์ อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส
- มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้ จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
- มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามี ภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้า นายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
- มาตรา 1459 การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วย กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงาน ทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน
- มาตรา 1460 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรส ต่อนายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบหรือสงครามถ้า ชายและหญิงนั้นได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ ที่อยู่ ณ ที่นั้นแล้วให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการสมรส ของชายและหญิงนั้นไว้เป็นหลักฐาน และต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียน สมรสกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจทำการจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนจดแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่แสดงเจตนาขอทำการสมรสและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียน สมรส ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการสมรสต่อบุคคลดังกล่าวเป็นวัน จดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนแล้ว ความในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับถ้าหากจะมีการสมรสในวันแสดงเจตนา ขอทำการสมรส การสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ
ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ กฎหมายด้านการแต่งงาน มีสรุปให้ด้วย เพื่อทำความเข้าใจง่ายขึ้น กฎหมายการสมรสก็จบแล้ว ในเนื้อหาต่อไปจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหมั้นมาฝาก
กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - เงื่อนไขแห่งการสมรส
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การหมั้น
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
กลับมาดูเรื่องการแต่งงานอีกครั้งค่ะ สำหรับวันนี้จะคุยกันถึงประมวลกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา หลังคู่สมรสแต่งงานแล้ว จะมีเรื่องทรัพย์สินระหว่างสมรส สินสมรส ซึ่งคู่สมรสต้องเข้าใจกฎหมายด้านนี้ เพื่อจะได้เข้าใจเงื่อนไขต่างๆ - อ่านต่อ
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความเป็นโมฆะของการสมรส
กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การสิ้นสุดแห่งการสมรส
หลายคู่สมรส ตอนแต่งใหม่ๆน้ำต้มผักก็ว่าหวาน แต่พอผ่านไปสักพัก หลายคู่ก็ไม่ได้จับมือกันไปจนถึงบั้นปลายชีวิต อาจจะต้องมีการหย่าร้างเกิดขึ้น วันนี้เลยเอาประมวลกฎหมายที่ประกอบด้วยเรื่องการสิ้นสุดแห่งการสมรสมาฝากค่ะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 การสมรส หมวด6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส ... อ่านต่อ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น