วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความเป็นโมฆะของการสมรส

สำหรับหัวข้อนี้ฟังชื่อแล้วดูน่ากลัวพิกล แต่หากว่าทำตามที่กฎหมายบัญญัติอะไรก็ไม่น่ากลัว มาดูกันว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 การสมรส หมวด5 ความเป็นโมฆะของการสมรส จะเป็นอย่างไร อย่าเพิ่งตกใจกลัวและปิดไปก่อนนะคะ คู่รักทุกคนต้องอ่านก่อนแต่งนะคะ



หมวด 5 ความเป็นโมฆะของการสมรส
หมายเหตุ  มาตรา 1495 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส อาจร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มี ส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 1496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
  • มาตรา 1497 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษา ว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้
หมายเหตุอ่านมาตรา 1497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
  • มาตรา 1497/1 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสใด เป็นโมฆะ ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อบันทึกความเป็นโมฆะ ไว้ในทะเบียนสมรส
หมายเหตุ มาตรา 1497/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
  • มาตรา 1498 การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทาง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อน หรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สิน ที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็น ประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยงชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวงแล้ว
หมายเหตุอ่านมาตรา 1498 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
  • มาตรา 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อม สิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ
การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือ หญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือ หญิงนั้น รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะ ดังกล่าวไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง 
การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 หรือฝ่าฝืน มาตรา 1452 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดได้ สมรสโดยสุจริตฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ และถ้าการสมรสที่ เป็นโมฆะนั้นทำให้ฝ่ายที่ได้สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลง เพราะ ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมี คำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของเป็นโมฆะ แล้วแต่กรณี ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วยสิทธิเรียกค่า เลี้ยงชีพในกรณีนี้ให้นำ มาตรา 1526 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 1528 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน หรือค่าเลี้ยงชีพตามวรรคสาม มี กำหนดอายุความสองปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด สำหรับ กรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 หรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่า ฝืน มาตรา 1452 
หมายเหตุอ่านมาตรา 1499 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
  • มาตรา 1499/1 ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ข้อตกลงระหว่าง คู่สมรสว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุคคลใด หรือฝ่ายใดหรือ ทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงิน เท่าใด ให้ทำเป็นหนังสือ หากตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของ คู่สมรสนั้นได้ตาม มาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส และสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึง ความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ และให้นำความใน มาตรา 1521 มาใช้บังคับโดยอนุโลม 
หมายเหตุอ่านมาตรา 1499/1 เพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 
  • มาตรา 1500 การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริตซึ่งได้มาก่อนมีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียน สมรสตาม มาตรา 1497/1 
หมายเหตุอ่านมาตรา 1500 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเติมปพพ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533

เห็นไหมหล่ะคะ หากทำตามกฎหมายไม่เห็นต้องกลัวว่าการแต่งงานของคุณเป็นโมฆะ จะได้ไม่ต้องเสียวกันตอนหลังนะคะ จบเรื่องการเป็นโมฆะของการสมรส เรื่องต่อไปน่ากลัวกว่านี้ค่ะ จะเอาประมวลที่เกี่ยวกับการสมรส ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการหย่าร้าง มาฝาก โอ้ววว ห่างไกลความหวานไปเรื่อยๆเลยค่ะท่านผู้ชม


กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - เงื่อนไขแห่งการสมรส
วันนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสมรสมาฝาก หนุ่มๆสาวๆทั้งหลายที่วาดหวังว่าจะเริ่มต้นครอบครัว สิ่งที่พวกเขาต้องกระทำเพื่อสร้างพันธะระหว่างกันคือการแต่งงาน หรือการสมรสนั่นเอง ดังนั้นกฎหมายด้านการแต่งงานทุกคนควรจะมีความรู้เรื่องนี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆเลยทีเดียว มาดูกันว่าประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรสมีอะไรบ้าง - อ่านต่อ


กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การหมั้น
มาต่อกันในเนื้อหาที่ค้างไว้ว่าจะเอามาฝากค่ะ หลังจากที่พูดถึงเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการแต่งงานแล้ว มาคราวนี้จะคุยถึงเรื่องการหมั่นค่ะ ซึ่งก็สำคัญไม่ต่างกันเลย ที่ท่านพึงต้องรู้ก่อนการหมั้นและการแต่งงาน - อ่านต่อ



กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
หลังจากแต่งงานไปแล้ว สามี ภรรยา ก็ยังต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอยู่กินด้วยกัน การอุปการะเลี้ยงดูกันและกัน รวมไปถึงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือวิกลจริต จะทำอย่างไร วันนี้ประมวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยามาฝาก - อ่านต่อ


กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

กลับมาดูเรื่องการแต่งงานอีกครั้งค่ะ สำหรับวันนี้จะคุยกันถึงประมวลกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา หลังคู่สมรสแต่งงานแล้ว จะมีเรื่องทรัพย์สินระหว่างสมรส สินสมรส ซึ่งคู่สมรสต้องเข้าใจกฎหมายด้านนี้ เพื่อจะได้เข้าใจเงื่อนไขต่างๆ  - อ่านต่อ


กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - ความเป็นโมฆะของการสมรส
สำหรับหัวข้อนี้ฟังชื่อแล้วดูน่ากลัวพิกล แต่หากว่าทำตามที่กฎหมายบัญญัติอะไรก็ไม่น่ากลัว มาดูกันว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 การสมรส หมวด5 ความเป็นโมฆะของการสมรส จะเป็นอย่างไร อย่าเพิ่งตกใจกลัวและปิดไปก่อนนะคะ คู่รักทุกคนต้องอ่านก่อนแต่งนะคะ อ่านต่อ




กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส - การสิ้นสุดแห่งการสมรสhttp://commonlaw1.blogspot.com/2014/02/blog-post_7789.html
หลายคู่สมรส ตอนแต่งใหม่ๆน้ำต้มผักก็ว่าหวาน แต่พอผ่านไปสักพัก หลายคู่ก็ไม่ได้จับมือกันไปจนถึงบั้นปลายชีวิต อาจจะต้องมีการหย่าร้างเกิดขึ้น วันนี้เลยเอาประมวลกฎหมายที่ประกอบด้วยเรื่องการสิ้นสุดแห่งการสมรสมาฝากค่ะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว ลักษณะ1 การสมรส หมวด6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส ... อ่านต่อ


Please Give Us Your 1 Minute In Sharing This Post!
SOCIALIZE IT →
FOLLOW US →
SHARE IT →
Powered By: BloggerYard.Com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก