วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติ (ACT)

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)  คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เป็นต้น




ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  จะเสนอได้โดย
  1. คณะรัฐมนตรี
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือสมาชิกผู้แทนราษฎร์ และสามาชิกวุฒิสภา ไม่น้อยกว่าหนึงในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
  3. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
ร่างพระราชบัญญัติ จะเสนอได้โดย
  1. คณะรัฐมนตรี
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
  3. ศาล หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กร และกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์การนั้นเป็นผู้รักษาการ 
  4. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าเสนอชื่อ ตามมาตรา 163 
  • กรณีข้อ 2 3 4 เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี 
  • กรณีข้อ 4 หากบุคคลตามข้อ 1 2 เสนอร่างเพราะราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัตินี้อีก ให้นำบทมาตรา 163 วรรคสี่ มาใช้บังคับการพิจารณา


ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ  ได้แก่ รัฐสภา
ร่างพระราชบัญญัติที่เนอต่อรัฐสภาต้องเปิดเผย ให้ประชาชนทราบและห้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดได้โดยสะดวก
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้กระทำเป็นสามวาระ คือ

  1. วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ  
  2. วาระที่ 2 ขั้น พิจารณาเรียงลำดับมาตรา
  3. วาระที่ 3 ออกคะแนนเสียง โดยต้องมีคะแนนเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่อยู่ในสภา

ผู้ตราพระราชบัญญัติ ได้แก่ พระมหากษัตริย์

เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่ได้รับเรื่อง หากศาลรัฐธรรมนูญมีวินิจฉัยว่าขัดแย้งต่อรับฐธรรมนูญ ให้ข้อความนั้นตกไป กรณีเป็นสาระสำคัญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ขัดแย้ง




การประกาศใช้ จะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ต้องได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 



Law1003 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ( ปพพ )


**นิติกรรม หมวดเบ็ดเสร็จทั่วไป**


นิติกรรม < ปพพ. มาตรา 149 >     นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฏหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงเพื่อก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
---------------------------------------------------------------------------------------------------

โมฆะกรรม < ปพพ. มาตรา 150 >    การใด  มีวัตถุประสงค์ เป็นการ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการ พ้นวิสัย หรือ เป็นการ ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ

---------------------------------------------------------------------------------------------------

โมฆะกรรม < ปพพ. มาตรา 151 >   การใด เป็นกาแตกต่างกับบทบัญญัติของกฏหมาย ถ้ามิใช่ กฏหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น ไม่เป็นโมฆะ

---------------------------------------------------------------------------------------------------

โมฆะกรรม < ปพพ. มาตรา 152 >    การใด มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฏหมายบังคับไว้ การนั้น เป็นโมฆะ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

โมฆียะกรรม < ปพพ. มาตรา 153>   การใด มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย ว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้น เป็นโมฆียะ




ติดตามตอนต่อไป คลิก





**หมายเหตุ
โมฆะกรรม หมายถึง  นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า ไม่มีผลตามกฏหมาย
โมฆียะกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลตามกฏหมาย แต่ อาจถูกบอกล้างได้ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฐธรรมนูญ (Constitution)


รัฐธรรมนูญ (Constitution)
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายมหาชนสารบัญญัติที่มีศักดิ์สูงสุด ที่ใช้เป็นหลักในการปกครอง กฎหมายอื่นจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญได้วางระเบียบเกี่ยวกับการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้นๆต่อกันและกัน หรือได้กำหนดกลไกและวิธีดำเนินการใช้อำนาจอธิปไตย และกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพขั้นมูลฐานของปวงชนไว้ รวมทั้งวิธีการควบคุมการใช้อำนาจอธิปไตย ตลอดจนการให้ความคุ้มครองสิทธหน้าที่ และเสรีภาพของปวงชนไว้เป็นหลักฐานแน่นอนด้วย

การจัดทำรัฐธรรมนูญเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการดังนี้

1.ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ

  • ราษฎรรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มพลังโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา เช่น คณะราษฎร์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้น
  • ผู้มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนนั้นๆ เช่น ประเทศใดจะปลดปล่อยอาณานิคมปกครองให้เป็นอิสระ ก็จะตรารัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อให้ประเทศนั้นๆใช้เป็นหลักในการปกครองสืบไป
  • ประมุขของรัฐ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้จัดร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่
  • หัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 
2.ผู้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สภานิติบัญญัติ หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี

3.ผู้ตรารัฐธรรมนูญ  พระมหากษัตริย์

4.การประกาศใช้  รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วนั้น จะต้องมีหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือประธานรัฐสภา หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฝำหมายได้


ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง





ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย



ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย

ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี 3 ประเภทคือ

1.กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ได้แก่ ราษฎรทั่วไปใน
ฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือกว่าราษฎร กฎหมายมหาชนได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

2.กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ในฐานะเท่าเทียมกัน
กฎหมายเอกชนได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์

3.กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐ



ลำดับชั้นของกฎหมาย (Hierachy of Law)

1.กฎหมายรัฐธรรมนูญ  คือ กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย

2.พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)  คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เป็นต้น

3.ประมวลกฎหมาย คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัติหรือตราขึ้นโดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่ วางหลักเกณฑ์ให้อยู่ในที่เดียวกันและมีข้อความเกี่ยวเนื่องติดต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต้น

4.พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น การประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ

5.พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ)  คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 6.กฎกระทรวง คือ กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอันเป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ กฎกระทรวงจึงเป็นกฎหมายบริวารที่กำหนดรายละเอียดของกฎหมายแม่บทอีกต่อหนึ่ง กฎกระทรวงจะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก กฎกระทรวงนั้นถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย คณะรัฐมนตรีเป็นอนุมัติกฎกระทรวง การประกาศใช้กฎกระทรวงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

7.ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง คือ กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติราชการภายในและการที่จะนำกฎหมายปลีกย่อยเหล่านี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าในกฎหมายไม่ได้กำหนดเช่นนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจว่าการจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ ซึ่งประกาศ ระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งเหล่านั้นก็เป็นกฎหมายได้เช่นกัน

8.กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง  ได้แก่  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา  ข้อบัญญัติจังหวัด  เทศบัญญัติ  และข้อบังคับ สุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอันเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น

กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)



กฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน

ความจริงแล้วไม่มีตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงธรรมเนียมประเพณีที่ถือกันมา หรืออย่างมากก็เป็นสนธิสัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่งประเทศ ดังนี้จึงอาจกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศเท่านั้นเอง (สวิน อักขรายุธ)


กฏหมายระหว่างประเทศแบ่งแยกเป็น 3 สาขา ได้แก่

1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public International Law) เป็นข้อบังคับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม แบ่งออกเป็น

  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคสันติ เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับรัฐ เช่น ลักษณะของรัฐ อาณาเขตของรัฐ หรือหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคสงคราม เป็นข้อความเกี่ยวกับการทสงคราม



2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law) เป็นข้อบังคับกำหนดสิทธิหน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศที่ต่างกันในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับต่างประเทศในเรื่องต่างๆ เช่น การได้สัญชาติ การแปลงสัญชาติ การสมรส ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา มรดก เป็นต้น



3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (Criminal International Law) เป็นข้อบังคับที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในทางอาญาเกี่ยวกับเขตอำนาจ การรับรู้คำพิพากษาทางอาญาของประเทศอื่น ตลอดจนการส่งตัวผู้รายข้ามแดน เป็นต้น



(ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย  ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง นัยยา เกิดวิชัย)

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของกฎหมาย


 กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม

ในการหาความหมายของกฎหมาย เป็นเรื่องยุ่งยากที่จะหาคำตอบให้สมบูรณ์ จำเป็นต้องเข้าใจความสำคัญต่างๆดังนี้

1 กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์

  • มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social animal)
    มนุษย์นิยมที่จะอยู่เป็นหมู่ เป็นพวก รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และการรวมตัวกันเป็นสังคมมนุษย์นี้เองเป็นผลให้มนุย์มีความแข็งร่ง มีสติปัญญาร่วมกันและมีพลังเป็นปึกแผ่นเพื่อฟันผ่าอุปสรรคภยันตรายนานาประการได้โดยตลอดรอดฝั่งเรื่อยมา (วิษณุ เครืองาม)


เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมีการสร้างกฏเกณฑ์ต่างๆเพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมไว้


  • กฎหมายกับศาสนา
    ศาสนามีข้อบังคับที่ศาสดากำหนดขึ้น เพื่อให้มนุษย์เชื่อถือ และบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นความดี และละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นความชั่ว
    ทั้งกฏหมายและศาสนาต่างเป็นกฏเกณฑ์ที่กหนดความประพฤติของมนุษย์ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับผลร้ายเป็นการตอบแทน
    แต่แตกต่างกันกันตรงสภาพบังคับ (Sanction) ในทางกฏหมายสภาพบังคับมีความเด็ดขาด จริงจัง และสามารถเห็นผลได้ในปัจจุบัน เช่น เอาให้ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่สภาพบังคับทางศาสนา ผลร้ายจากการกระทำผิดเป็นเรื่องของกาลภายหน้า (บาป) เฉพาะแต่ผู้เลื่อมใสเท่านั้น 

  • กฏหมายกับศีลธรรม
    ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ชอบ การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ผิด (หยุด แสงอุทัย)
    ทั้งกฏหมายและศีลธรรมต่างเป็นกฏเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติมนุษย์ หมายถึง มีจิตใจหรือความรู้สึกนึกคิดที่จะกระทำหรือไม่กระทำการไดๆ เหมือนกัน
    แตกต่างกันตรงที่กฎหมายกำหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ หากคิดร้ายในใจกฎหมายก็ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ศีลธรรมเป็เรื่องของความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ แม้คิดไม่ขอบในใจย่อมผิดศีลธรรมแล้ว  กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ มีบทลงโทษทางกฎหมาย แต่ศีลธรรมเกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ สภาพบังคับจะเป็นการการกระทบกระเทือนทางจิตใจของผู้ฝ่าฝืน

  • กฎหมายกับจารีตประเพณี
    จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยมุ่งถึงสิ่งที่เป็นเป็นการกระทำภายนอกของมนุษย์ เช่น การแต่งตัว วิธีพูดด และวิธีติดต่อกับบุคคลอื่น รวมถึงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งจารีตประเพณีอาจเป็นเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะแตกต่างกันได้ตามสังคม
    ความคล้ายคลึงระหว่างประเพณีและจารีตประเพณี คือเป็นข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ ไม่ได้ควบคุมถึงภายในจิตใจเหมือนศีลธรรม โดยกฏหมายรัฐเป็นผู้กำหนดบังคับใช้ มีบทลงโทษตามกฏหมาย แต่จารีตประเพณีประชาชนเป็นผู้กำหนด หารไม่กระทำตาม การลงโทษคือการถูกติเตียนจากสังคม การจะยกเลิกจารีตประเพณีต้องใช้เวลาในการยกเลิก  แต่กฎหมายสามารถยกเลิกได้ทันที
    ในบางสังคม จารีตประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมย เช่น ในประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)